ดังหวาย ๒

Clerodendrum nutans Wall. ex Jack

ชื่ออื่น ๆ
ดังควาย (ยะลา); แป้งพวง (นครศรีธรรมราช); พริกยาน, ยายกลั้งดอกขาว (ตรัง)

ไม้พุ่ม กิ่งค่อนข้างเป็นสันสี่เหลี่ยม มีร่องตามยาว กิ่งอ่อนมีขนสีน้ำตาลประปราย เมื่อแก่เกลี้ยง ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม มักสลับตั้งฉาก รูปขอบขนาน รูปรี รูปขอบขนานแกมรูปรี หรือรูปไข่ ช่อดอกแบบช่อแยกแขนง ช่อแขนงแบบช่อกระจุกซ้อนหรือช่อกระจุก ออกที่ปลายยอดหรือปลายกิ่ง ช่อโปร่ง ห้อยลง ดอกสีขาวหรือ สีขาวแกมสีเหลือง ผลแบบผลผนังชั้นในแข็ง รูปทรงกลมแกมรูปไข่หรือรูปทรงค่อนข้างกลม สุกสีดำ ปลายอาจเว้า เป็น ๒-๔ พู มีกลีบเลี้ยงสีแดงหรือสีชมพูแกมสีแดงติดทน ขยายใหญ่ และกางออก แต่ละพูมีเมล็ด ๑ เมล็ด รูป ค่อนข้างป้อม มีเกราะแข็งหุ้มเมล็ด


     ดังหวายชนิดนี้เป็นไม้พุ่ม เปลือกต้นสีน้ำตาล กิ่งค่อนข้างเป็นสันสี่เหลี่ยม มีร่องตามยาว กิ่งอ่อนมีขน สีน้ำตาลประปราย เมื่อแก่เกลี้ยง
     ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม มักสลับตั้งฉาก รูปขอบ ขนาน รูปรี รูปขอบขนานแกมรูปรี หรือรูปไข่ กว้าง ๒- ๘.๕ ซม. ยาว ๗-๒๕ ซม. ปลายเรียวแหลม โคนรูป ลิ่ม มนหรือเว้ารูปหัวใจ ขอบเรียบ อาจพบหยักซี่ฟันบ้าง แผ่นใบบางคล้ายกระดาษ ด้านบนสีเขียวเป็นมัน มีเกล็ด กระจายทั่วไป ไม่มีขน ด้านล่างสีจางกว่า มีต่อมหรือจุด ใสหรือเกล็ดกระจายทั่วไป ไม่มีขน เส้นกลางใบทาง ด้านบนเป็นร่องตามยาวเห็นเด่นชัด มีขนสั้นสีน้ำตาล ประปรายหรือไม่มี นูนทางด้านล่าง ไม่มีขน เส้นแขนงใบ ข้างละ ๔-๘ เส้น พบน้อยที่มีได้ถึง ๑๐ เส้น ปลายเส้นโค้ง จดเส้นถัดไปใกล้ขอบใบ เห็นชัดทั้ง ๒ ด้าน เส้นใบย่อย แบบร่างแห เห็นชัดทางด้านล่าง ก้านใบเรียว ยาว ๑.๓- ๖.๕ ซม. เกลี้ยงเป็นร่องตามยาวทางด้านบน
     ช่อดอกแบบช่อแยกแขนง ช่อแขนงแบบช่อ กระจุกซ้อนหรือช่อกระจุก ออกที่ปลายยอดหรือปลายกิ่ง ช่อโปร่ง ห้อยลง ยาว ๑๕-๕๒ ซม. พบน้อยที่ยาวน้อยกว่า ๔.๕ ซม. ก้านช่อยาว ๒-๑๗ ซม. เป็นเหลี่ยม มีขนสีน้ำตาล ประปราย ช่อแขนงออกเป็นคู่ตรงข้าม ก้านช่อแขนงยาว ๐.๖-๓.๕ ซม. เป็นเหลี่ยม มีขนสีน้ำตาลประปรายหรือ ไม่มี ใบประดับรูปขอบขนาน รูปใบหอก รูปแถบ หรือรูป แถบแกมรูปขอบขนาน กว้าง ๐.๑-๑ ซม. ยาว ๐.๒-๓.๕ ซม. ปลายเรียวแหลม มีขน ใบประดับย่อยรูปแถบ ยาว ๐.๕-๖ มม. ดอกสีขาวหรือสีขาวแกมสีเหลือง ก้านดอก ยาว ๐.๖-๑.๕ ซม. มีขนสีน้ำตาลประปราย กลีบเลี้ยงยาว ๕-๙ มม. รูประฆัง โคนกลีบเชื่อมติดกันเป็นหลอดสั้น ๆ คล้ายถ้วย ยาว ๑-๒.๕ มม. ปลายแยกเป็น ๕ แฉก รูป ใบหอก รูปใบหอกแกมรูปรี หรือรูปใบหอกแกมรูปขอบ ขนาน กว้ า ง ๑-๒.๖ มม. ยาว ๔-๖.๕ มม. ปลายแหลม หรือเรียวแหลม สีเขียว ขอบเรียบ สีแดง ด้านนอกแฉก เกลี้ยงหรือมีขนประปราย ด้านในมีต่อมหรือเกล็ดสีขาว ประปราย กลีบดอกสีขาวหรือสีขาวแกมสีเหลือง โคน เชื่อมติดกันเป็นหลอดเรียว ยาว ๐.๗-๑.๓ ซม. โคนหลอด อวบหนากว่าปลาย ด้านนอกเกลี้ยงหรือตามบริเวณปลาย หลอดมีขนต่อม ปลายหลอดแยกเป็นแฉกบาง ๕ แฉก รูปขอบขนาน รูปไข่ รูปขอบขนานแกมรูปไข่ หรือรูปไข่ กลับ กว้าง ๓.๕-๗.๕ มม. ยาว ๐.๘-๑.๗ ซม. ปลายแฉก มนหรือแหลม ขอบเรียบ แฉกด้านนอกเกลี้ยงหรือมีขน ประปราย เกสรเพศผู้ ๔ เกสร สั้น ๑ คู่ ยาว ๑ คู่ ติดที่ หลอดกลีบดอกด้านใน ก้านชูอับเรณูสีขาว อวบ ผิวขรุขระ คู่สั้นมีก้านชูอับเรณูยาว ๑.๗-๓ ซม. คู่ยาวมีก้านชู อับเรณูยาว ๑.๘-๓.๒ ซม. อับเรณูสีน้ำตาลแกมสีดำ รูป รีหรือรูปขอบขนาน ยาว ๒-๓ มม. ติดด้านหลัง รังไข่อยู่ เหนือวงกลีบ รูปทรงกลมแกมรูปทรงรี ยาว ๑.๕-๒.๓ มม. ผิวมัน มี ๔ ช่อง แต่ละช่องมีออวุล ๑ เม็ด ก้านยอดเกสร เพศเมียเรียว ยาว ๒.๕-๓.๘ ซม. ปลายก้านอวบและ โค้ง ยอดเกสรเพศเมียแยกเป็นแฉกสั้น ๆ ๒ แฉก ยาว ๐.๑- ๐.๗ มม.
     ผลแบบผลผนังชั้นในแข็ง รูปทรงกลมแกมรูป ไข่หรือรูปทรงค่อนข้างกลม เส้นผ่านศูนย์กลาง ๐.๙-๑.๒ ซม. สุกสีดำ ปลายอาจเว้าเป็น ๒-๔ พู มีกลีบเลี้ยงสีแดง หรือสีชมพูแกมสีแดงติดทน ขยายใหญ่และกางออก ยาว ๐.๖-๑.๓ ซม. แต่ละพูมีเมล็ด ๑ เมล็ด รูปค่อนข้างป้อม มีเกราะแข็งหุ้มเมล็ด พบบ้างที่เมล็ดไม่พัฒนา
     ดังหวายชนิดนี้มีเขตการกระจายพันธุ์ในประเทศ ไทยทางภาคเหนือ ภาคตะวันออก ภาคกลาง ภาคตะวันตก เฉียงใต้ และภาคใต้ พบตามป่าดิบ ป่าเบญจพรรณ เขา หินปูน ที่สูงตั้งแต่ใกล้ระดับทะเลถึงประมาณ ๑,๘๐๐ ม. ออกดอกและเป็นผลเกือบตลอดปี ในต่างประเทศพบที่ อินเดีย (หมู่เกาะนิโคบาร์) บังกลาเทศ เมียนมา คาบสมุทร มาเลเซีย และเกาะสุมาตรา.

ชื่อหลักหรือชื่อทางการ
ดังหวาย ๒
ชื่อวิทยาศาสตร์
Clerodendrum nutans Wall. ex Jack
ชื่อสกุล
Clerodendrum
คำระบุชนิด
nutans
ชื่อผู้ตั้งพรรณพืช
- Wall. ex Jack
ช่วงเวลาเกี่ยวกับผู้ตั้งพรรณพืช
- Wall. ช่วงเวลาคือ (1786-1854)
- Jack ช่วงเวลาคือ (1795-1822)
ชื่ออื่น ๆ
ดังควาย (ยะลา); แป้งพวง (นครศรีธรรมราช); พริกยาน, ยายกลั้งดอกขาว (ตรัง)
ผู้เขียนคำอธิบาย
นางจารีย์ บันสิทธิ์
แหล่งอ้างอิง
อนุกรมวิธานพืช อักษร ด กองวิทยาศาสตร์อนุกรมวิธานพืช อักษร ด. pdf.